วันสมาธิโลก 2550
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - มหาสมบัติของผู้มีบุญ
ดูเถิดว่า บุญนี่สำคัญจริงๆ มีพลานุภาพยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น แม้พระบรมศาสดายังตรัสย้ำว่า "ใครมีบุญมาก สิ่งที่ดีมีสิริมงคลทั้งหลายจะไปอยู่กับผู้มีบุญมาก บุญจะดึงดูดสิริ ทั้งหลายมา ใครจะลักเอาไปไม่ได้ เป็นของอสาธารณะ"
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๖ ( เชิญพระเวสสันดรกลับพระนคร )
ดูก่อนสุเมธดาบสจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม หม้อน้ำที่ควํ่าแล้ว ย่อมคายน้ำออก ไม่เหลือ ไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแล ทรัพย์ ยศ บุตร ภรรยาหรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการ อยากได้ทั้งหมด แก่ผู้ขอที่มาถึง กระทำมิให้มีส่วนเหลืออยู่ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๕ ( กัณหาชาลีได้รับอิสรภาพ )
พระราชาเวสสันดรพระองค์ใดเป็นที่พึ่งอาศัยของยาจกทั้งหลาย ดุจธรณีเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย หรือเป็นที่ไปมาของยาจกทั้งหลาย ดุจสาครเป็นที่ไหลหลั่งไปมาแห่งแม่น้ำทั้งหลาย พระราชาเวสสันดรพระองค์นั้น เมื่อเสด็จประทับแรม ณ ราวไพร ได้พระราชทานพระโอรสพระธิดาแก่ข้าพระบาท
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๗ ( เสด็จออกบรรพชา )
เมื่อพระโอรสพระธิดาทอดพระเนตรเห็นพฤกษชาติเผล็ดผลในป่าใหญ่ อยากเสวยผลไม้เหล่านั้น ต้นไม้เหล่านั้นก็น้อมกิ่งลงมาให้พระโอรสพระธิดาสามารถเด็ดเสวยได้เองอย่างง่ายด้วย พระนางมัทรีราชเทวีทอดพระเนตรสิ่งอัศจรรย์นี้ รู้ทันทีว่า เป็นเพราะอำนาจแห่งทานบารมีของพระเวสสันดร
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๖ ( เิดินทางสู่เขาวงกต )
แม้พระโพธิสัตว์ทรงรู้ว่า ถูกขับไล่ให้ไปอยู่ในป่าก็มิได้หวั่นไหว รุ่งขึ้นของวันใหม่ ท่านได้บริจาคสัตตสตกมหาทาน ด้วยความปีติยินดี เหมือนไม่มีเหตุร้ายใดๆ เกิดขึ้น พวกเทวดาได้แจ้งพระราชาในชมพูทวีป ว่า พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน และกำลังพระราชทานนางขัตติยกัญญา พวกกษัตริย์จึงเสด็จมาด้วยเทวานุภาพ รับนางขัตติยกัญญาเหล่านั้นไปเป็นมเหสี
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๔ ( พระราชทานช้างมงคล )
เมื่อพราหมณ์ขอช้างได้แล้ว ก็พากันแห่ไปในใจกลางเมือง ครั้นมหาชนเห็นช้างมงคล ต่างถามว่า ท่านได้ช้างนี้มาจากไหน ทันทีที่รู้ว่าได้รับบริจาคมาจากพระเวสสันดร ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ และโกรธพระโพธิสัตว์มาก ได้รวมตัวกันตั้งแต่คนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตรจากทุกตระกูล พ่อค้า ชาวนา พราหมณ์ พากันมาชุมนุมร้องเรียนพระเจ้าสัญชัยว่า
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑ ( ปฐมเหตุ )
พระบรมโพธิสัตว์ได้ดำรงตนเป็นแบบอย่างนักสร้างบารมี ตั้งแต่ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ก็แบพระหัตถ์ออก และกล่าวกับพระมารดาว่า"เสด็จแม่ มีสิ่งใดให้ลูกได้ทำทานบ้าง" นี่..พระองค์เกิดมาเพื่อการนี้ เพื่อบ่มบารมีให้แก่รอบ ครั้นพระชนมายุได้เพียง ๘ ชันษา ประทับอยู่บนปราสาทตามลำพัง ทรงคิดที่จะบริจาคทานว่า "เราพึงให้หัวใจ ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกายที่มีอยู่ทั้งหมดนี้ หากใครมาขอเรา ให้เราได้ยิน เราก็จะพึงให้ด้วยความยินดี"